
แนวโน้มวิวัฒนาการยุคต่อไปของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องที่ห่างไกลเกินความเป็นจริง หรือ เป็นแค่เรื่องจินตนาการบนจอภาพยนตร์ไซ-ไฟความก้าวหน้าด้านการแพทย์ในระดับนาโน บวกกับเทคโนโลยีชีวภาพ การตัดต่อดัดแปลงพันธุกรรมมนุษย์ การผลิตชิพคอมพิวเตอร์ชีวภาพซึ่งสามารถฝังเข้าไปในร่างกายคน และจักรกลชีวภาพต่างๆ กำลังเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตมนุษย์ วิวัฒนาการหนึ่งที่เห็นได้ชัดในยุคนี้ คือ การผสมพันธุ์ข้ามพงศ์พันธุ์ของมนุษย์ต่างเชื้อชาติทั่วโลก นอกจากนั้น เทคโนโยลีสารสนเทศก็เข้ามามีบทบาททำให้ "วัฒนธรรม" ของแต่ละเชื้อชาติเริ่มละลายหายไป สร้างเทรนด์ใหม่ที่เรียกว่าปรากฏการณ์ "วัฒนธรรมเดียว" (Monoculture) สถานการณ์ความไม่มั่นคงในชีวิต เช่น ภัยจากไฟสงครามและภัยธรรมชาติครั้งใหญ่ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่อาจส่งผลต่อวิวัฒนาการของมนุษย์ในอนาคต เช่น ถ้าเกิดสงครามนิวเคลียร์ หรือ เกิดอุกกาบาต-ดาวเคราะห์น้อยชนโลกขึ้นมาจริงๆ สิ่งแวดล้อมบนโลกจะเปลี่ยนไปอย่างรุนแรง ทำให้มนุษย์ต้องปรับตัวตามไปด้วยโดยอัตโนมัติเพื่อเอาชีวิตรอด
วิวัฒนาการของมนุษย์ เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลง พัฒนาหรือวิวัฒนาการ ที่ทำให้สิ่งมีชีวิต (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภทลิงใหญ่ - Ape) มีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ กลายเป็นสปีชีส์ใหม่ จนในที่สุดพัฒนาไปเป็นมนุษย์ปัจจุบัน
วิวัฒนาการของมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของวิชาชีววิทยา เป็นสาขาวิชาที่ทำการสืบค้นอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ เพื่อทำความเข้าใจและอธิบาย ว่าการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาจากลิงใหญ่กลายเป็นมนุษย์นี้เกิดขึ้นได้อย่างไร
การศึกษาวิวัฒนาการของมนุษย์ รวมรวมวิทยาศาสตร์เข้าไว้หลายแขนง ที่เด่นชัดก็คือมานุษยวิทยากายภาพ (physical anthropology) และพันธุศาสตร์ (genetics)
คำว่า 'มนุษย์' ในบริบทของการวิวัฒนาการของมนุษย์ หมายถึงจีนัส โฮโม (Homo) แต่การศึกษาวิวัฒนาการมนุษย์ก็มักจะรวมสมาชิกตระกูลมนุษย์ เรียกว่า โฮมินิด (hominid) อย่าง australopithecines เข้าไปด้วย
การศึกษาวิวัฒนาการของมนุษย์ รวมรวมวิทยาศาสตร์เข้าไว้หลายแขนง ที่เด่นชัดก็คือมานุษยวิทยากายภาพ (physical anthropology) และพันธุศาสตร์ (genetics)
คำว่า 'มนุษย์' ในบริบทของการวิวัฒนาการของมนุษย์ หมายถึงจีนัส โฮโม (Homo) แต่การศึกษาวิวัฒนาการมนุษย์ก็มักจะรวมสมาชิกตระกูลมนุษย์ เรียกว่า โฮมินิด (hominid) อย่าง australopithecines เข้าไปด้วย
ประวัติ

การศึกษามานุษยวิทยากายภาพ (Physical Anthropology, Paleoanthropology) ยุคใหม่ เริ่มขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อมีการค้นพบซากมนุษย์นีแอนเดอร์ธาล(Neanderthal man) และหลักฐานต่างๆ ของมนุษย์ถ้ำ ความคิดที่ว่ามนุษย์มีความคล้ายคลึงกับลิงใหญ่มีมานานแล้ว แต่ความคิดเกี่ยวกับทฤษฏีวิวัฒนาการ ที่เป็นที่ยอมรับเริ่มขึ้น เมื่อ ชาร์ลส์ ดาร์วิน(Charles Darwin) ตีพิมพ์หนังสือ On the Origin of Species ในปี ค.ศ. 1859 และหนังสือเล่มถัดมาของเขา Descent of Man ตั้งแต่สมัยของ คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus) ได้จัดให้ ลิงใหญ่อยู่ในกลุ่ม ที่เป็นญาติใกล้ชิดมนุษย์ โดยดูจากลักษณะภายนอก
ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 คาดกันว่า ลิงชิมแปนซีและลิงกอริลล่าเป็นญาติที่ใกล้ชิดที่สุดของมนุษย์ ซึ่งยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน
ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 คาดกันว่า ลิงชิมแปนซีและลิงกอริลล่าเป็นญาติที่ใกล้ชิดที่สุดของมนุษย์ ซึ่งยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน
ก่อนจะมาเป็นมนุษย์
เราสามารถสืบหาวิวัฒนาการของไพรเมตย้อนหลังไปได้ถึงประมาณ 60 ล้านปีก่อน ไพรเมตมีบรรพบุรุษร่วมกันกับสัตว์จำพวกค้างคาว ซึ่งอาจมีชีวิตอยู่ช่วงประมาณยุค Cretaceous (ทันยุคท้ายๆของพวกไดโนเสาร์) ไพรเมต (เก่าแก่ที่สุดเท่าที่ทราบกัน) มาจากบริเวณอเมริกาเหนือ แพร่กระจายผ่าน ยุโรป เอเชีย และแอฟริกา ในยุค Paleocene และ Eocene เมื่ออากาศเปลี่ยนแปลงเป็นหนาวเย็นในต้นยุค Oligocene (ประมาณ 40 ล้านปีก่อน) ไพรเมตสูญพันธ์ไปเป็นจำนวนมาก เหลืออยู่เพียงบริเวณแอฟริกาและเอเชียใต้ บรรพบุรุษยุคแรกๆของโฮมินิด (ลิงใหญ่และมนุษย์) ออกจากแอฟริกาเข้าสู่ยุโรปและเอเชีย เมื่อประมาณ 17 ล้านปีก่อน ซึ่งต่อมาวิวัฒนาการไปเป็น บรรพบุรุษของลิงใหญ่ ลิงกอริลลา และลิงชิมแปนซี และก็มีสา
ยพันธ์หนึ่ง วิวัฒนาการกลายเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์เมื่อประมาณ 6 ล้านปีก่อนแม้จะยังไม่ได้ข้อมูลจากฟอสซิล แต่การตรวจสอบทางโมเลกุล (ดีเอ็นเอ) ก็บอกให้เราทราบว่า บรรพบุรุษของมนุษย์ วิวัฒนาการแยกจากลิงกอริลลาเมื่อประมาณ 8 ล้านปีก่อน และแยกจากลิงชิมแปนซี เมื่อประมาณ 4 ล้านปีก่อน
ดูเหมือนว่าพวกโฮมินิด จะเป็นหนึ่งในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สามารถพัฒนา การดำรงชีวิต เมื่ออากาศบนโลกแปรเปลี่ยนไป เมื่อประมาณ 8 ล้านปีก่อน จากเดิมอยู่ป่า สามารถย้ายมาอยู่ทุ่งหญ้าแบบเปิด ซากฟอสซิลจากยุคนั้น ที่พบก็เช่น สายพันธุ์
Sahelanthropus tchadensis (7-6 ล้านปีก่อน)
Orrorin tugenensis (6 ล้านปีก่อน) และในยุคต่อๆมาก็พบ
Ardipithecus (5.5-4.4 ล้านปีก่อน)
Australopithecus (4-2 ล้านปีก่อน)
Paranthropus (3-1.2 ล้านปีก่อน)
Homo (2 ล้านปีก่อน-ปัจจุบัน)

ดูเหมือนว่าพวกโฮมินิด จะเป็นหนึ่งในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สามารถพัฒนา การดำรงชีวิต เมื่ออากาศบนโลกแปรเปลี่ยนไป เมื่อประมาณ 8 ล้านปีก่อน จากเดิมอยู่ป่า สามารถย้ายมาอยู่ทุ่งหญ้าแบบเปิด ซากฟอสซิลจากยุคนั้น ที่พบก็เช่น สายพันธุ์
Sahelanthropus tchadensis (7-6 ล้านปีก่อน)
Orrorin tugenensis (6 ล้านปีก่อน) และในยุคต่อๆมาก็พบ
Ardipithecus (5.5-4.4 ล้านปีก่อน)
Australopithecus (4-2 ล้านปีก่อน)
Paranthropus (3-1.2 ล้านปีก่อน)
Homo (2 ล้านปีก่อน-ปัจจุบัน)